Contact us on +668 4668 1993 or aspasign2020@gmail.com

“โพเมโล” เปิดตัวบริการ Prism. แบรนด์โซลูชั่นช่วยคู่ค้าสู้โควิด

“โพเมโล” เปิดตัวบริการ Prism. แบรนด์โซลูชั่นช่วยคู่ค้าสู้โควิด
June 27, 2021 dhammarong

“โพเมโล” เปิดตัวบริการใหม่ แพลตฟอร์มแบรนด์โซลูชั่น “Prism.” ช่วยคู่ค้าทั้งระบบครบวงจร ฝ่าวิกฤตโควิด-19 พร้อมทั้งรองรับการค้าอีคอมเมิร์ซที่เติบโตในยุคโควิด

นายเดวิด จู ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร(CEO) และ ผู้ร่วมก่อตั้ง Pomelo Fashion เปิดเผยว่า โพเมโล ได้เปิดตัวบริการใหม่ที่ชื่อว่า Prism. ซึ่งเป็๋นแพลตฟอร์มแบรนด์โซลูชั่นให้บริการแบบครบวงจรเพื่อช่วยให้แบรนด์ต่าง ๆ เติบโต โดยให้บริการแบบผสมผสานโดยเน้นการพัฒนาแบรนด์ ตั้งแต่ตัวสินค้า การจัดจำหน่าย การตลาดแบบรอบทิศทาง การใช้ข้อมูล เทคโนโลยี และการโฆษณาที่มีประสิทธิภาพ ด้วยความเป็นผู้นำที่เข้มแข็ง นวัตกรรมใหม่ ๆ และแบรนด์เซอร์วิสที่ครอบคลุม ซึ่งจะเป็นผู้เปลี่ยนวงการแฟชั่นออนไลน์ เพื่อให้แบรนด์ทั่วทั้งภูมิภาคเติบโตได้อย่างยั่งยืน

. “เราสามารถสร้างแผนการสื่อสารแบบ 360 องศาที่ครอบคลุมทุกอย่างตั้งแต่ Influencers โซเชียลมีเดีย สื่อโฆษณาดิจิทัล การ สร้างเครือข่าย การใช้สื่อแบบนอกบ้าน (OOH) ได้ในที่เดียว เราสามารถเข้าถึงจุดข้อมูลกว่า 100 ล้านจุด ซึ่งช่วยให้เราสามารถเจาะจงข้อมูลที่สมบูรณ์แบบสําหรับสินค้าและแบรนด์ของคุณได้โดยใช้สตูดิโอสร้างสรรค์ระดับโลกและนักวิเคราะห์ที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลของเรา เปิดตัวแบรนด์ของเจ้าของผ่านผู้ติดตามในโซเชียลมีเดียของเรากว่า 3 ล้านคน และเครือข่าย Influencers กว่า 3,000 รายทั่วภูมิภาค

จากการเติบโตของ Pomelo แพลตฟอร์มแฟชั่น Omnichannel ชั้นนำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Prism. จึงมีความเชี่ยวชาญด้านการธุรกิจแบบออนไลน์สู่ออฟไลน์เป็นอย่างมาก โดยมีจุดมุ่งหมายในการแนะแนวทาง และให้คำปรึกษาแบรนด์ต่าง ๆ ด้วยกลยุทธ์และแผนงานที่เหมาะสม เพื่อการเติบโตในอุตสาหกรรม Omnichannel ของแบรนด์ บริการต่าง ๆ ของ Prism. ได้แก่ การปรับเปลี่ยนกลยุทธให้เหมาะกับแบรนด์ การจัดการและการสร้างคอนเทนต์ วิธีการ Omnichannel และฟีเจอร์ Tap.Try.Buy. แบบฉบับของ Pomelo โดยมีคลังและศูนย์กระจายสินค้าทั้งในประเทศไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ซึ่งรวมถึงการบริการ การแพ็คสินค้า การจัดการสินค้าย้อนกลับ การแก้ปัญหาด้านภาษี/พรมแดน และการบริการลูกค้า

สำหรับสถานการณ์แฟชั่นโดยรวม อุตสาหกรรมแฟชั่นดิจิทัลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีรายงานว่า GMV เติบโต 22% มูลค่า 25,000 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2564 อีคอมเมิร์ซในประเทศไทยโตขึ้น กว่า 35% ในปี2563ที่ผ่านมา ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการระบาดอย่างหนักของ โควิด -19 ที่มีรายงานจํานวนผู้ป่วยโควิด-19 ใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในเดือน มิถุนายน 2564 มีจำนวน 4.5 ล้านคน จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้การค้าบนโลกออนไลน์รวมทั้งสินค้าแฟชั่นด้วยเติบโตอย่างรวดเร็

ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตรายใหม่ในปี 2564 ประมาณ 40 ล้านคน เป็นผู้ใช้บริการทางด้านดิจิทัล 1 ใน 3 เริ่มใช้งานออนไลน์ครั้งแรกเนื่องจากโควิด-19

ทั้งนี้ในประเทศไทย GDP ประเทศไทย หดตัวจากที่คาดการณ์ไว้ที่ 3% เป็นติดลบมากถึง6.1% ในปี 2564 ประมาณการว่าประชาชนจากชนชั้นแรงงานในประเทศไทยจำนวนกว่า 6 ล้านคน ตกงานเนื่องจากการ ระบาดของโควิด-19 และคาดว่าประชากรกว่า 70% ของชาวไทยจะได้รับวัคซีนภายในปลายปี 2564 ขณะที่อุตสาหกรรมเสื้อผ้าและแฟชั่น บนอีคอมเมิร์ซเติบโต 27% ท่ามกลางวิกฤติโควิด-19 ซึ่งจำนวน 30% ของวัยรุ่นหญิงที่มีรายได้สูงใช้จ่าย ไปกับการซื้อเสื้อผ้า
นายเดวิด กล่าวด้วยว่า แผนการขยายสาขาแบบออฟไลน์ น้้น ในระยะสั้นนี้อาจจะยังไม่เน้น เพราะสถานการณ์โควิด แต่ในช่วง 2 ปีข้างหน้านี้จะขยายแน่นอนทั้งในตลาดไทย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซียซึ่งพ่ึงเปิดสโตร์แรกที่กัวลาลัมเปอร์ไม่นานนี้

 

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล : mgronline.com