Contact us on +668 4668 1993 or aspasign2020@gmail.com

120,000 ล้าน! สมาคมมีเดียเอเยนซี่คาดงบฯโฆษณาในปีนี้ ปรบมือให้ OOH ตัวเลขพุ่ง จับตา FMCG ใช้งบน้อยลง

120,000 ล้าน! สมาคมมีเดียเอเยนซี่คาดงบฯโฆษณาในปีนี้ ปรบมือให้ OOH ตัวเลขพุ่ง จับตา FMCG ใช้งบน้อยลง
March 4, 2018 dhammarong

สมาคมมีเดียเอเยนซี่และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย รายงานผลงบประมาณการใช้สื่อปี 2017 และคาดการณ์การใช้สื่อปี 2018 ดีขึ้น ตามสภาพเศรษฐกิจกทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจ มีความมั่นใจมากขึ้น ประกอบกับมหกรรมฟุตบอลโลกที่กำลังจะเกิดขึ้น

โดยมีนายไตรลุจน์ นวะมะรัตน นายกสมาคมมีเดียเอเยนซี่ และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย (Media Agency Association of Thailand :MATT) กล่าวเปิดงานว่า อุตสาหกรรมสื่อในปี 2017 ที่ผ่านมา เป็นช่วงเวลาที่เราได้ผ่านประสบการณ์ทั้งสุขและทุกข์ร่วมกัน อุตสาหกรรมค่อยๆ ปรับตัวดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แม้มูลค่าการใช้สื่อโฆษณาในปี 2017 ยังชะลอตัวถึง -4% แต่ดีขึ้นกว่าที่คาดการณ์ไว้ เป็นผลจากสภาพเศรษฐกิจที่ขยายตัวดีขึ้นจากการส่งออกและการท่องเที่ยว และการคาดการณ์ GDP จากในปีนี้จะเติบโตเฉลี่ยถึง 4%

ด้าน นายรัฐกร สืบสุข อุปนายกสมาคมมีเดียเอเยนซี่ และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย กล่าวรายงานตัวเลขงบประมาณการใช้สื่อในปี 2017 ว่า เราจะเห็นบางสื่อที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น อย่างสื่อเอาท์ดอร์ที่เติบโตขึ้น ในขณะที่บางสื่ออาจจะลดลง ซึ่งลดลงตัวการเปลี่ยนถ่ายไปสู่สื่ออื่น หรือหายตัวจากการปิดตัวลงไป

ปี 2017

งบฯ โฆษณาแบ่งตามประเภทสื่อ

  • ทีวี สื่อโทรทัศน์ (ดิจิทัลทีวี เคเบิ้ลทีวี และโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม) ได้รับงบฯ ลดลง 7% ส่วนสาเหตุที่ลดลง เป็นเพราะผู้ลงโฆษณาระมัดระวังในการใช้สื่อทีวีมากขึ้น รวมทั้งเป็นการลดลงสืบเนื่องมากจากช่วงเดือนตุลาคม ปี 2016 ด้วย
  • วิทยุลดลง 6%
  • หนังสือพิมพ์ ลดลง 16%
  • นิตยสาร ลดลง 33%

สื่อที่โตสวนกระแส

  • สื่อโรงภาพยนตร์ เพิ่มขึ้น 27%
  • สื่อนอกบ้าน (Out-of-Home) เพิ่มขึ้น 10%
  • สื่อในการเดินทาง (Transit) เพิ่มขึ้น 10%
  • สื่อในห้างสรรพสินค้า (In-store) เพิ่มขึ้น 35%
  • สื่ออินเตอร์เน็ต เพิ่มขึ้น 20%

ทั้งนี้ ภาพรวมของการใช้งบประมาณในสื่อต่างๆ ถือว่าตัวเลขใกล้เคียงกับปี 2016 แต่ไม่ได้เยอะมาก ดังนั้น โดยภาพรวมงบฯ สื่อ 2  ปีที่ผ่านมาก็ไม่ได้มีการเติบโตมากอย่างที่คาดการณ์กันไว้

การใช้งบฯ โฆษณา แบ่งตามอุตสาหกรรมธุรกิจ

แคตตากอรี่ที่ใช้งบประมาณสูงสุด ยังคงเป็นกลุ่มธุรกิจหลัก แต่พบว่าการใช้งบฯ กลับมียอดที่ลดลง เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

  • ธุรกิจรถยนต์ ใช้งบฯ 8,032.5 ล้านบาท แต่เมื่อคิดเป็นเปอร์เซนต์แล้วน้อยลง 5%
  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ใช้งบฯ 7,457.9 ล้านบาท ลดลง 1%
  • ธุรกิจกเกี่ยวกับการสื่อสาร ใช้งบฯ 6,309.1 ล้านบาท ลดลง 7%
  • การโฆษณาภาครัฐและชุมชน ใช้งบฯ 5,210.0 ล้านบาท ลดลง 16%
  • ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวพรรณ ใช้งบฯ 4,708.6 ล้านบาท ลดลง 17%

จะเห็นได้ว่ากลุ่ม FMCG มีการใช้สื่อโฆษณาที่ลดลงขึ้นเยอะ

ธุรกิจที่พบว่ามีการใช้งบฯ โฆษณาเพิ่มขึ้น

  • ธุรกิจสื่อและการตลาด เพิ่มขึ้น 15%
  • ร้านอาหารและภัตตาคาร เพิ่มขึ้น 7%
  • ผลิตภัณฑ์เวชภัณฑ์เพิ่มขึ้น 6%
  • ธนาคารเพิ่มขึ้น 4%

ประเภทผลิตภัณฑ์ยาและแบงก์ จัดได้ว่า เป็นตัวเลขที่ทรงๆ ตัวไม่ค่อยเห็นการเปลี่ยนแปลงมากนัก

Top Spending Advertising

  • Unilever Holding ใช้งบฯ 3,734.7 ล้านบาท คิดเป็น -17%
  • Toyota  ใช้งบฯ 1,992.8 ล้านบาท คิดเป็น-14%
  • Protect & Gamble ใช้งบฯ 1,992.8 ล้านบาท คิดเป็น8%
  • Tri Petch Isuzu  ใช้งบฯ 1,375.3 ล้านบาท คิดเป็น  4%
  • Coca-Cola  ใช้งบฯ  1,350.4 ล้านบาท คิดเป็น -9%

Top Spending Brand

  • Korea King ใช้งบฯ โฆษณา 1,059.3 ล้านบาท คิดเป็น -36%
  • Office of The Prime Minister 1,048.5 ล้านบาท 26%
  • TV Direct Direct ใช้งบฯ 880.6 ล้านบาท คิดเป็น 150%
  • Coke Soft Drink ใช้งบฯ 861.0 ล้านบาท คิดเป็น 1%
  • Tesco-Lotus ใช้งบฯ 684.7 ล้านบาท คิดเป็น -14%

ปี 2018

สำหรับงบฯ ในการใช้สื่อปี 2561 คาดการณ์ว่า การใช้สื่อโดยรวมจะดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะสื่อนอกบ้าน (Out-of-Home) จะเติบโตเพิ่มขึ้นถึง 10% ในขณะที่สื่อโทรทัศน์ จะเติบโต 6% และสื่อที่คาดว่าจะเติบโตน้อย ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อวิทยุ และสื่อในโรงภาพยนตร์

คาดการณ์เม็ดเงินบนสื่อต่างๆ ปี 2018

  • สื่อทีวี (ดิจิทัลทีวี, เคเบิ้ล, ดาวเทียม) -7%
  • สื่อวิทยุ -16%
  • หนังสือพิมพ์  -19%
  • แม็กกาซีน -33%
  • โรงหนัง 27%
  • เอาท์ดอร์  13%
  • ทรานซิท  10%
  • อินสโตร์  35%
  • อินเตอร์เน็ต

อย่างไรก็ตาม ในปี 2561 คาดว่าจะเป็นปีที่ดีขึ้นของอุตสาหกรรมโดยรวม ถ้าไม่มีปัจจัยลบอื่นๆ เข้ามา การเติบโตของอุตสาหกรรมก็จะเป็นไปตามที่วางไว้ นอกจากนี้ อีกปัจจัยได้แก่ ความมั่นใจของผู้บริโภคที่กล้าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น รวมทั้งกิจกรรมมหกรรมฟุตบอลโลกที่กำลังจะเกิดขึ้นกระตุ้นให้ภาพรวมเศรษฐกิจดีขึ้นได้

ทั้งนี้ ภาพรวมใน “ด้านลบ” คือลูกค้าหลายเจ้าต้องการให้น้ำหนักและความสำคัญ ได้แก่ Media Efficiency  ซึ่งจะทำให้หลายสื่อขึ้นราคาได้ลำบาก

เรียกได้ว่าภาพรวมของปีนี้ (2018) คาดว่าน่าจะมีการใช้จ่ายงบฯ กว่า 120,000 ล้านบาท ซึ่งถือว่าดีขึ้นนิดนึง แต่ไม่มาก ดีขึ้นแต่ไม่เยอะเท่าปี 2559

สำหรับนักการตลาดนอกจากการแผนการตลาดที่เข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคที่เป็น Ecosystem แล้ว การเลือกสื่อใดเพื่อการเข้าถึงผู้บริโภคจึงเป็นสิ่งสำคัญ ในขณะที่ตัวสื่อเองก็ได้บูรณาการรูปแบบให้ Interactive กับผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็ว สร้างประสบการณ์ที่ดีให้ผู้บริโภคได้จดจำและใช้ซ้ำได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้นักการตลาดใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพ

 

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล : marketingoops.com